มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ชีวิตที่ประเสริฐ
พระองค์ถือเอาความสิ้นไปของหยาดน้ำค้างนั้น เป็นอารมณ์ จึงมองเห็นภพทั้งสามดุจมีเพลิงลุกไปทั่ว จากนั้นได้เสด็จไปหาพระบิดาซึ่งกำลังประทับอยู่ ณ ศาลาวินิจฉัย เพื่อทูลลาบวช พระบิดาทรงห้ามว่า "อย่าผนวชเลย ถ้าเธอยังพร่องในเบญจกามคุณทั้งหลาย ฉันเพิ่มเติมให้ ถ้าผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันก็จะห้ามปราม"
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ
ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามครูฝึกม้าชื่อ เกสี ที่ไปเข้าเฝ้าพระองค์ว่า “ดูก่อนเกสี ใครๆก็รู้ว่าท่านเป็นครูฝึกม้าฝีมือดีคนหนึ่ง ท่านฝึกม้าอย่างไรเล่า” นายเกสีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฝึกม้าของข้าพระองค์มี ๓วิธี คือ วิธีแรก ข้าพระองค์จะฝึกด้วยวิธีละม่อม ค่อยเป็นค่อยไป วิธีที่สอง ฝึกด้วยวิธีรุนแรง และวิธีสุดท้ายฝึกผสมกันทั้งสองวิธี”
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - สละชีวิตเพื่อพ่อ
ฝ่ายยักษ์รอคอยการมาของพระราชาอยู่ ใต้ต้นไม้ เมื่อเห็นพระโอรสเสด็จมาแทน จึงถามว่า ท่านไม่รู้หรือว่าเราเป็นยักษ์ ทำไมจึงเดินมาหาเรา พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เรารู้ว่าท่านเป็นยักษ์กินคน เราคือโอรสของพระราชา วันนี้ท่านจงกินเราแทนพระชนกเถิด
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก
รู้ว่าทุกอย่างไม่เที่ยง ก็ไม่มีทุกข์แล้ว
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ผลของความเพียรพยายาม
ความขยันหมั่นเพียร เป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทุกประการ บุคคลผู้มีความเพียรไม่เบื่อหน่ายในการงานที่ตนกระทำ หมั่นฝึกฝนอบรมคุณธรรม สั่งสมความดี ประกอบบุญกุศลอยู่เป็นนิตย์ ย่อมได้รับความสุขและความสำเร็จ บุญกุศลที่ทำไว้จะเป็นเสบียงติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ข้ามห้วงวัฏสงสารอันยาวไกล
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สารธรรมของชีวิต
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา ต่างแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงสำหรับชีวิต แต่เนื่องจากปัญญาและวิจารณญาณที่แตกต่างกัน ทำให้มีการแสวงหากันไปต่างๆ นานา พบทั้งสิ่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ยิ่งถ้าขาดกัลยาณมิตร ก็เหมือนกับคนเดินทางในที่มืด
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - การบูชาที่แท้จริง
พระธรรมารามเถระ แปลว่า ผู้ยินดีในการปฏิบัติธรรม เมื่อ ท่านรู้ว่า อีกไม่นานพระพุทธองค์จะปรินิพพาน ก็มีความคิดว่า ตัวเราเองยังไม่บรรลุคุณวิเศษอะไรเลย อีกไม่นานพระพุทธองค์ก็จะปรินิพพานแล้ว อย่ามัวเสียเวลาเลย เราจะบูชาธรรมพระพุทธองค์ด้วยการปฏิบัติธรรมให้บรรลุอรหัตให้ได้ โลกทั้งโลกของท่านมีแต่การทำหยุดในหยุดอย่างเดียว ลมหายใจของท่านเป็นไปเพื่อการหยุดนิ่งเท่านั้น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๒ )
วันนี้จะนำเรื่องของผู้ที่ปฏิบัติสวนทางกับพระนิพพาน มาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องของผู้ที่ในใจลึกๆ นั้น มีความปรารถนาอยากบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ด้วยวินิจฉัยยังไม่สมบูรณ์ จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ แม้กระนั้นก็ตาม ดวยความเป็นยอดกัลยาณมิตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ท่านกลับใจ