อานิสงส์นำพระพุทธเจ้าข้ามแม่น้ำ
เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวมแล้วด้วยดี ยังกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ที่เราได้ข้ามส่งพระชินเจ้า ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งบุญที่เราได้ทำไว้ในทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ
อานิสงส์สร้างที่จงกรม
รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง จักปรากฏแก่ท่านผู้นั้น ผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม ในเวลาใกล้จะละโลก ผู้นั้นจักไปสู่เทวโลกด้วยยานนั้น เทวดาทั้งหลายจักพลอยบันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี วิมานอันควรค่ามาก เป็นวิมานประเสริฐ ฉาบทาด้วยเครื่องทาอันสำเร็จด้วยรัตนะ
อานิสงส์สร้างหอฉัน
เราได้ให้คนไปบอกกับนายช่างไม้ ให้ทรัพย์แล้ว จ้างให้ทำศาลาโรงฉัน ด้วยบุญนั้นเราอยู่ในเทวโลกตลอด ๘ กัปโดย ในกัปที่เหลือเราท่องเที่ยวไปในสุคติภูมิ ความบริบูรณ์ในโภคทรัพย์สมบัติย่อมเกิดกับเรา ยาพิษย่อมไม่กลํ้ากรายในกายเรา และศาสตราไม่กระทบกายเรา เราไม่เคยตายในน้ำ นี้เป็นผลแห่งการสร้างศาลาโรงฉัน
อานิสงส์ขายเส้นผมทำบุญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เหมือนการประกอบกุศลธรรมอยู่เนืองนิตย์เลย
อานิสงส์ยกมือไหว้พระ
เราอาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์ เรานุ่งห่มหนังสัตว์ อยู่ในระหว่างภูเขา เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดั่งทองคำ ดุจพระอาทิตย์แผดแสง เสด็จเข้าป่างามเหมือนพญารังมีดอกบาน จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมี แล้วนั่งกระโหย่งประณมอัญชลี ถวายบังคมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ด้วยเศียรเกล้า ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราไม่เคยพลัดตกไปสู่ทุคติเลย
อานิสงส์เลื่อมใสเสียงธรรม
เราอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ ณ ภูเขาหิมวันต์ ได้ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ผู้กำลังทรงแสดงธรรม ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
ธรรมกายคือธรรมขั้นไหน
ธรรมกาย คือกายที่เกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้ สมบูรณ์ พอใครปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้ถูกส่วนเข้า ใจจะหยุดแล้วเห็นกายภายในกายหนึ่งที่ศูนย์กลางกาย เรียกว่า “ธรรมกาย”
อานิสงส์ต้อนรับพระพุทธเจ้า
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ได้ฉันใด ธีรชน แม้สั่งสมบุญทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ ฉันนั้น
อานิสงส์โปรยน้ำเป็นพุทธบูชา
พืชแม้เล็กน้อย อันบุคคลหว่านแล้วในนาดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำถูกต้องตามกาล ผลก็ย่อมยังชาวนาให้ยินดีได้ฉันใด เมื่อสักการะแม้เล็กน้อย อันทายกทำแล้ว ในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณ ผู้คงที่ ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคชาดก บางครั้งการเคร่งครัดต่อกฏระเบียบข้อบังคับมากเกินไปจนลืมนึกถึงเหตุและผลที่สมควร ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมไปได้ ติดตามเรื่องราวการปกครองเหล่าบริวารของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะ ชึ่งให้ข้อคิดและสามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ เหตุการณ์ในปัจจุปันได้