มหาสมัยสูตรครั้งที่ 1 (ตอนพรหมและเทวาโกลาหล)
พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในเวลากลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงในเวลากลางคืน กษัตริย์เมื่อทรงเครื่องรบแล้วย่อมรุ่งเรือง พราหมณ์ผู้มีความเพ่งเพียร ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดชตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืนทั้งหมด
พระศรีอริยเมตไตรย์ ตอนที่ 1 เกริ่นนำ
เรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (1)
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (2)
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงามที่พระอริยะสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด
ลักษณะมหาบุรุษ (1)
ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงเพราะ ความมีทรวดทรงดี ความมีรูปสวย ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น บุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 4 ชนะสัจจกนิครนถ์)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลเอก เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุธรรม
ชัยชนะครั้งที่ 5 (ตอน ชนะการถูกกล่าวหาจากนางจิญจมาณวิกา)
พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ ได้ทำไม้สัณฐานกลมผูกติดไว้ ด้วยวิธีที่งดงาม คือความสงบพระทัยในท่ามกลางมหาชน ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน
ชัยชนะครั้งที่ 1 (ตอนที่ 1 ชนะพญามาร)
พระจอมมุนีได้ชัยชนะพญามาร ผู้เนรมิตแขนตั้งพัน มีอาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมขล์พร้อมด้วยเสนามาร มาโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้น ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น ขอสรรพมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน...
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ทำลายข่าย คือ ทิฏฐิมานะ (1)
พระพุทธองค์จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์และสอบถามพระฉันนะว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ เมื่อท่านยอมรับว่าจริง จึงตรัสเตือนว่า "ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอกระทำไม่เหมาะสม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ทำไมเมื่อเธอถูกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวโดยธรรม จึงทำตัวให้เป็นผู้ที่ใครๆว่ากล่าวไม่ได้
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 190
พระราชาพระองค์น้อยทรงทัดทาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เมื่อไม่อาจจะยับยั้งความตั้งใจของมโหสถได้ ในที่สุดพระองค์จึงทรงประทานพระบรมราชานุญาตให้ตามที่ขอ ตรัสว่า “ท่านบัณฑิต ท่านจงไปเถิด ไปอยู่กับพระอัยกาของเรา แต่ขอให้ท่านกลับเยี่ยมเราบ้างก็แล้วกัน”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 187
พระเจ้าจุลนีตรัสว่า “ขอบใจเธอมาก พ่อบัณฑิต ฉันจะรอ ฝากเธอช่วยนำบรรณาการเหล่านี้ไปมอบให้ลูกหญิงของฉันด้วย” ตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงฝากทาสชายหญิง โค กระบือ ทองเงิน ผ้า ช้าง ม้า และรถที่ตกแต่งอย่างดี ให้มโหสถนำไปพระราชทานเป็นของกำนัลแด่พระราชธิดาปัญจาลจันที จากนั้นก็รับสั่งให้ตระเตรียมโภชนะสำหรับบำรุงเลี้ยงกองรถและกองราบอย่างอิ่มหนำสำราญ
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 186
พระราชาเหล่านั้นทรงสดับความจริงแล้ว ต่างพากันสวมกอดมโหสถด้วยความสำนึกในมหากรุณาของมโหสถ แล้วตรัสด้วยความซาบซึ้งใจว่า “พ่อมโหสถเอย...พ่อช่างเป็นที่พึ่งของพวกเราโดยแท้ เราเป็นหนี้บุญคุณพ่อมากเหลือเกิน จนมิรู้ว่าจะตอบแทนอย่างไร” ตรัสดังนี้แล้ว พระราชาทั้งหมดก็ทรงถอดเครื่องราชาภรณ์ที่ทรงประดับมาบูชาคุณมโหสถบัณฑิต
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 185
ส่วนว่ามโหสถจะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าจุลนีหรือไม่ เพราะว่าเมื่อผู้นำทัพต้องมาจบชีวิตลงในสนามรบ ฝ่ายตรงข้ามย่อมได้รับชัยชนะทันที อีกทั้งเหล่าข้าราชบริพารของพระเจ้าจุลนี และพระราชาต่างแคว้นอีกร้อยเอ็ดพระองค์ก็ยังติดอยู่ในอุโมงค์ที่มืดสนิท แผนการของมโหสถในครั้งนี้สามารถปกครองชมพูทวีปได้ทันที แต่ว่ามโหสถบัณฑิตจะมีวิธีการอย่างไรที่ดีไปกว่าการเป็นใหญ่ด้วยการฆ่าฟันกัน โปรดติดตาม
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - รักษาใจให้เข้าถึงธรรม
ตั้งแต่บวชมา อาตมามีความสุขในเพศสมณะตลอดทั้งวันทั้งคืน จิตใจโปร่งโล่งเบาสบาย ไม่มีความกังวลใดๆเลย และทำความเพียรตลอดเจ็ดวัน พอถึงวันที่แปดจึงได้สำเร็จกิจอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยยินดีในลาภสักการะสรรเสริญ ไม่เคยมีอาพาธเลยแม้แต่น้อย จึงไม่ต้องแสวงหายามารักษาสรีรยนต์นี้
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หมดโศก เพราะหมดอาลัย
ชีวิตในสังสารวัฏนี้ เต็มไปด้วยทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก สังสารวัฏนี้กำหนดเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ หมู่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ได้เสวยความทุกข์โทมนัสมายาวนาน ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าสูงขึ้น ใหญ่โตกว่าภูเขาที่ตั้งตระหง่านเทียมฟ้า
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 183
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาถึงบุคคลผู้ติดอยู่ในกามคุณว่า เหมือนคนมีหนี้ ก็ยอมให้เจ้าหนี้ด่าว่าได้ จองจำได้ จนกระทั่งสั่งฆ่าได้ ดังนั้นโทษของกามคุณจึงเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรง หากพลาดท่าตกลงไปในบ่วงกามมีแต่จะเร่าร้อนตลอดเวลา เพราะถูกไฟ คือ ราคะ แผดเผา มโหสถบัณฑิตสามารถจับทางพระเจ้าจุลนีได้ ด้วยการกล่าวพรรณนาความงามของพระนางนันทาเทวี
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 182
ในที่สุดพระองค์ก็จะเว้น ไม่ทำอันตรายแก่เรา เพราะเหตุว่า “ถ้าพระองค์ฆ่าเราเสีย พระองค์ก็จักไม่ได้พระเทวีกลับคืนมา” ส่วนว่าอุบายของมโหสถที่จะให้พระเจ้าจุลนีทรงเกิดความอาลัยรักในพระนางนันทาเทวีผู้เป็นพระชายานั้น จะมีวิธีการอย่างไร แล้วจะได้ผลหรือไม่ เหตุการณ์จักเป็นอย่างไร โปรดติดตาม
ความสุขที่แท้จริง
เมื่อปล่อยใจเข้าไปสู่สภาวะภายในของกายนั้น ก็เกิดมีดวงแก้วใสสว่างมาก มีสภาพเป็นดวงแก้วที่ซ้อนๆกันอยู่เป็นสายหลายดวงมาก ตรงกลางของแต่ละดวงเป็นท่อกลวงเชื่อมต่อกัน ใจกระผมเหมือนถูกดูดเข้าไปในดวงแก้วที่ซ้อนๆกันนั้น เหมือนกับตนเองได้เข้าไปอยู่ในกลางดวงสว่าง มันช่างเป็นสภาวะใจที่สงบสุขอย่างพิเศษมาก
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - กาลเวลาพิสูจน์ความดี
ในตอนเย็น จึงเริ่มแผนการด้วยการเดินมุ่งหน้าไปวัดพระเชตวัน แต่งตัวเรียบร้อย ถือดอกไม้ของหอมเข้าไป เดินสวนทางกับสาธุชนทั้งหลายที่กลับจากการฟังธรรม เมื่อเดินสวนทางกัน คนก็สงสัย จึงถามว่า “นี่เธอจะไปไหนล่ะ” นางตอบว่า “ฉันจะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น
เหมือนดังเรื่องของเมตไตยยะ ซึ่งออกบวชเป็นชฎิล คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่มีในสมัยนั้น ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่ออินทรีย์แก่กล้า บุญบันดาลให้มาพบแสงสว่าง ท่านได้พบกับยอดกัลยาณมิตร คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีโอกาสได้ทูลถามปัญหา และตั้งปัญหาถามได้ลึกซึ้ง เป็นปัญหาที่น่ารู้น่าศึกษาทั้งสิ้น