แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_2
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็ เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์
กระต่ายน้อยในดวงจันทร์(ทานปรมัตถบารมี)
เมื่อให้ทานอันเลิศ บุญอันเลิศย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และกำลังอันเลิศก็เจริญ
ผมมาบวชได้เพราะเกมส์ออนไลน์
วันแรกๆก็มีเรื่องฟุ้งซ่านบ้างครับ กระผมจึงเริ่มหาวิธีเปลี่ยนเรื่องฟุ้งใหม่ ด้วยการนึกถึงสิ่งที่กระผมชอบ และนึกได้ นั่นก็คือ ดอกทานตะวันสีเหลืองใหญ่ๆ พอนึกได้สักพักจากดอกทานตะวันก็นึกให้กลายเป็นดวงแก้วใสๆก็นึกได้ไม่ยากครับ
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 158
สุวโปดกรู้ว่า ถึงอย่างไรนางก็จะไม่ยอมบอกตนง่ายๆ จึงได้ใช้ไม้ตายสุดท้ายเพื่อให้นางยอมจำนน “เอาเถอะ พี่เชื่อที่น้องพูด แต่จะพิสูจน์ด้วยการกระทำของน้อง น้องก็รู้นี่ว่า ธรรมดาคู่รักกัน ไม่ควรมีความลับต่อกัน ต่างฝ่ายจึงจะมั่นใจได้ว่า ผู้ที่ตนรักมีความซื่อสัตย์ต่อกันจริง แต่ในเมื่อน้องไม่ยอมบอกความลับแก่พี่ การเป็นสามีภรรยาของเราจะมีความหมายอะไร”
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ไขปริศนาธรรม
พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลก ตรัสตอบว่า “บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ทำอะไรเหมาะสม ไม่ทอดธุระ ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ศิษย์คิดล้างครู
มุสิละกราบทูลว่า ตนมีความสามารถพอๆ กับอาจารย์ จึงไม่ขอรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจารย์ ขอให้พระองค์พระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้น ธรรมดาอาจารย์ต้องได้รับมากกว่าศิษย์ มุสิละก็ ไม่ยอม จากนั้นก็ออกไปประกาศให้มหาชนไปเป็นสักขีพยาน ในการประลองฝีมือการดีดพิณระหว่างตนกับอาจารย์
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - เครื่องหมายของคนดี
เมื่อน้องชายได้ฟังดังนั้น ก็สำนึกผิดในความดื้อรั้นของตน ไม่สามารถจะอยู่ในที่นั้นได้ จึงหลีกเร้นไปอยู่คนเดียว ปรารภความเพียรอยู่ในป่าลึก จนสามารถทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้ แล้วคิดว่า จะนำพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีปมาขอขมาพี่ชาย เพื่อจะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติดูแลบิดามารดาอีก
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด