ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์วารสารพระสังฆาธิการฉบับมุทิตาสักการะเปรียญธรรม ๙ ประโยค
เพื่อน้อมถวายแด่พระมหาเปรียญธรรมและพระสังฆาธิการทั่วประเทศ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทยรักษาไว้ให้แผ่นดิน
นับแต่การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสงแห่งธรรมของพระบรมศาสดาเป็นประดุจแสงสว่างส่องนำทางชีวิตให้แก่ชาวโลกตลอดมา ภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำสังคายนาเพื่อเรียบเรียงพระธรรมวินัยและทรงจำสืบทอดต่อ ๆ กันมาด้วยการท่องจำเรียกว่า “มุขปาฐะ”
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๓)
ผู้เขียนและคณะทีมงานของสถาบันฯมีความปลื้มปีติที่ได้แสดงความกตัญญูตอบแทนและประกาศเกียรติคุณของพระเดชพระคุณ-พระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่เป็นองค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยซึ่งท่านมีมโนปณิธานมาเป็นเวลากว่า ๓๕ ปีว่าน่าจะมีใครสักคนหรือหลาย ๆ คนในองค์กรทำการค้นคว้าหาหลักฐานคำสอนดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรื่องธรรมกายเพื่อทำความจริงให้ปรากฏ
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศนอร์เวย์และสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งที่มหาวิทยาลัยออสโลและมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งทั้งสองสถาบันเป็นแหล่งที่มี ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ของคัมภีร์พุทธโบราณอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นจำนวนมาก ที่ค้นพบในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง ดังนั้นในฉบับนี้จึงขอนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์สตวาหนะแล้ว ราชวงศ์อานธรอิกศวากุ ได้ปกครองดินแดนแถบนี้ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๙ โดยตั้งเมืองหลวงที่เมืองวิชัยปุระหรือนาคารชุนโกณฑะ สมาชิกฝ่ายสตรีในราชวงศ์นี้เป็นพุทธมามกะได้สร้างวิหารเทวีและวิหารสิงหล ให้เป็นอาสนสถานของพระสงฆ์จากลังกา และสร้างชัยตยฆระ ถวายแด่ฝ่ายพระเถรีจากลังกาความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของลังกาและอินเดียแถบอานธรประเทศในยุคนี้มีความใกล้ชิดกันเป็นอย่างมาก
สืบทอดพุทธธรรม...จากพุทธกาลสู่โลกปัจจุบัน
คัมภีร์พระไตรปิฎกอักษรบาลีถือเป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่สืบทอดคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษรโดยมีมาตั้งแต่ราว ๆ พ.ศ. ๔๐๐ เศษ ณ ประเทศศรีลังกา และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในยุคต่อมา ที่สร้างคัมภีร์ใบลานด้วยความเคารพศรัทธา เพื่อเผยแผ่หรือทดแทนของเดิมที่สูญหายหรือถูกทำลาย
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔)
ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) ได้นำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องประจำทุก ๆ เดือนผ่านมาได้ ๓ ฉบับแล้ว แต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนายังมีเรื่องราวอีกมาก ในฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอ ประวัติของเส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว
พระไตรปิฎกพิมพ์อักษรไทย อธิปไตยของแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไตรปิฎกพิมพ์อักษรไทย อธิปไตยของแผ่นดิน
"เข้าพรรษา" ช่วงเวลาของการเพิ่มพูนความดี
เทศกาลเข้าพรรษาเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ในปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือ เป็นปีที่มีเดือน ๘สองหน วันสำคัญในทางศาสนาของปีนี้จึงเลื่อนไป ๑ เดือน ตามข้อกำหนดของการนับวันของประเทศไทย ทำให้วันมาฆบูชาเลื่อนไปตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และวันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗